แนวทางการประกอบอาชีพ ของ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ สามารถทำงานเป็นนักเทคโนโลยีการบรรจุ ที่ออกแบบและควบคุมการผลิตภาชนะบรรจุ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำภาชนะบรรจุให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์ สถานที่ทำงานหลังจบการศึกษาได้แก่ บริษัทในกลุ่มอุปโภคบริโภค เช่น Procter & Gamble Manufacturing Ltd., คอลเกต ปาล์มโอลีฟ ประเทศไทย จำกัด, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประเทศไทย จำกัด, 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ฯลฯ บริษัทในกลุ่มวัสดุบรรจุ เช่น ฟิล์มมาสเตอร์ จำกัด, สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด, เยื่อกระดาษสยาม จำกัด ฯลฯ และกลุ่มการพิมพ์ภาชนะบรรจุ เช่น สยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด, สยามทบพัน จำกัด, Fuji Ace Co.,Ltd ฯลฯ

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ผู้ที่จบสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมการหมัก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ฯลฯ ในบทบาทของนักวิจัย ผู้ควบคุมการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพ หรือศึกษาต่อปริญญาโทเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือวิศวกรรมเคมี บัณฑิตของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเนสเล่(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัทเบทาโกรอโกรกรุ๊ฟ จำกัด (มหาชน), บริษัทซี.พี.อินเตอร์ฟูด (ไทยแลนด์) จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆ ฯลฯ

ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถเป็นนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นพนักงานควบคุมการผลิตในบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร หรือทำงานในองค์กรของรัฐต่างๆ เช่น สภาวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรม สถาบันอาหาร ฯลฯ ในตำแหน่งนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้ควบคุมคุณภาพสินค้า หรือศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในสาขาเดิมหรือสาขาอื่น เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม,Food Engineering, Chemical Engineering, MBA, Marketing, Industrial Engineering, Packaging ฯลฯ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ในฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา หรือฝ่ายขาย และ ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในตำแหน่งวิศวกรกระบวนการแปรรูปอาหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต บัณฑิตของภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี), บริษัทลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทเนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทยูไนเต็ดฟูดส์ จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ เช่น สำนักงานอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงสาธารณสุข โครงการหลวงและโครงการส่วนพระองค์ ฯลฯ

ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอสามารถก้าวสู่มืออาชีพด้านการจัดการธุรกิจสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ หรือเป็นผู้ควบคุมการผลิต หรือหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างๆ เช่น โรงงานปั่นด้าย โรงงานฟอกย้อม โรงงานพิมพ์ผ้า โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ โรงงานเคหะสิ่งทอ หรือเป็นนักวิจัยในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันสิ่งทอ สถาบันค้นคว้าและวิจัยต่างๆ ฯลฯ

ใกล้เคียง

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.shanghairanking.com/Shanghairanking-Sub... http://www.shanghairanking.com/Shanghairanking-Sub... http://www.shanghairanking.com/Shanghairanking-Sub... http://www.shanghairanking.com/Shanghairanking-Sub... http://www.shanghairanking.com/Shanghairanking-Sub... http://www.shanghairanking.com/Shanghairanking-Sub... http://www.shanghairanking.com/Shanghairanking-Sub... http://aikaset.invisionplus.net http://admission.agro.ku.ac.th/work.html http://fis.agro.ku.ac.th/office/index.php